Disneys Mufasa The Lion King มูฟาซา เดอะ ไลอ้อน คิง ภาพยนตร์แห่งปีที่ควรค่าแก่การไปดูบนจอยักษ์ สมจริงทั้งงานภาพและเสียง - Mixmaya.Com
  • Home
  • entertainment
  • Disneys Mufasa The Lion King มูฟาซา เดอะ ไลอ้อน คิง ภาพยนตร์แห่งปีที่ควรค่าแก่การไปดูบนจอยักษ์ สมจริงทั้งงานภาพและเสียง
Disneys Mufasa The Lion King มูฟาซา เดอะ ไลอ้อน คิง ภาพยนตร์แห่งปีที่ควรค่าแก่การไปดูบนจอยักษ์ สมจริงทั้งงานภาพและเสียง

Disneys Mufasa The Lion King มูฟาซา เดอะ ไลอ้อน คิง ภาพยนตร์แห่งปีที่ควรค่าแก่การไปดูบนจอยักษ์ สมจริงทั้งงานภาพและเสียง

“Disney’s Mufasa: The Lion King มูฟาซา: เดอะ ไลอ้อน คิง”ภาพยนตร์แห่งปีที่ควรค่าแก่การไปดูบนจอยักษ์ สมจริงทั้งงานภาพและเสียง ด้วยแรงบันดาลใจจากฉากจริง-เสียงจริง พบกับความยอดเยี่ยมของตำนานแห่งราชาได้แล้ววันนี้ ในโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศ

 

 

 

 

นับเป็นภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ที่สร้างกระแสให้คนทั่วโลกเข้าโรงภาพยนตร์ส่งท้ายปีกันอย่างคึกคักกับ “Disney’s Mufasa: The Lion King มูฟาซา: เดอะ ไลอ้อน คิง” ที่เผยให้เห็นปฐมบทแห่งเจ้าป่า ตำนานราชาแห่ง Pride Lands ที่นอกจากเนื้อเรื่องจะสนุกเข้มข้นชวนติดตาม งานภาพและเสียงยังสร้างความประทับใจให้คนดูอิ่มเอมอย่างที่สุด ซึ่งเบื้องหลังความยอดเยี่ยมคือการทำงานร่วมกันอย่างลงตัวของผู้กำกับมือรางวัล แบร์รี่ เจนกินส์ (Barry Jenkins) และทีมโปรดักชันที่ทุ่มเทอย่างเต็มที่ จนเกิดเป็นภาพและเสียงที่งดงามสมจริง พาให้คนดูดำดิ่งสู่การผจญภัยในแอฟริกา ราวกับว่ากำลังออกเดินทางไปกับมูฟาซาจริง ๆ

 

โดดเด่นด้วยเทคนิคการสร้างที่แปลกใหม่

 

แบร์รี่ เจนกินส์ ผู้กำกับชื่อดัง เริ่มงานผลิตภาพยนต์เรื่อง “Disney’s Mufasa: The Lion King มูฟาซา: เดอะ ไลอ้อน คิง” ในปี 2020 โดยให้ความสำคัญกับลุค หรือภาพรวมทางภาพและอารมณ์ของหนังเป็นอย่างมาก แม้จะได้แรงบันดาลมาจากภาพยนตร์และละครเวทีเรื่อง The Lion King ที่ผู้คนชื่นชอบ แต่เขาตั้งใจว่า “ภาพยนตร์เรื่องนี้ต้องยืนหยัดด้วยตัวเอง” เจนกินส์จึงเลือกผสมผสานเทคนิคการสร้างภาพยนตร์แบบ Live-action เข้ากับการสร้างภาพด้วยคอมพิวเตอร์แบบสมจริง (Photoreal Computer-Generated Imagery) โดยทำงานร่วมกับแอนิเมเตอร์และดิจิทัลอาร์ตติสของ Moving Picture Company (MPC) ทีมที่เคยมอบชีวิตให้กับตัวละครสัตว์ที่โด่งดังของดิสนีย์เป็นมาแล้วใน The Jungle Book เมื่อปี 2016 และ The Lion King เมื่อปี 2019

 

โดยทีมผู้สร้างร่วมมือกับศิลปินและช่างเทคนิคจาก MPC ผสมผสานวิธีการต่าง ๆ จากแอนิเมชันและ Live-action เข้าด้วยกัน ตั้งแต่การออกแบบฉาก การถ่ายทำภาพยนตร์ ไปจนถึงการออกแบบดิจิทัล แอนิเมชัน และการตัดต่อ ซึ่งทุกอย่างดำเนินไปภายใต้วิสัยทัศน์ของเจนกินส์ เพื่อถ่ายทอดอารมณ์และความงดงามลงไปในทุกเฟรมของภาพยนตร์

 

“แนวคิด คือ การนำเทคนิคการสร้างภาพยนตร์มาผสมผสานกับภาพยนตร์ดิจิทัล เพื่อขับเน้นความงดงามเชิงบทกวีและความเป็นมนุษย์ กล่าวคือ สำหรับภาพยนตร์ Live-action สิ่งที่คุณพยายามทำคือจัดฉาก นำองค์ประกอบทั้งหมดมารวมกัน คุณทำงานเป็นเดือนเพื่อให้ทุกอย่างมาถึงจุดเดียวในเวลาเดียวกัน และดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น นักแสดงพูดบทของพวกเขา เอฟเฟกต์ต่าง ๆ เกิดขึ้น และบางครั้งผลลัพธ์ที่ดีที่สุดไม่ได้ออกมาตามที่คุณคิด แต่มันแตกต่างและดีกว่า นั่นคือเวทมนตร์ของสิ่งที่เราทำ เป็นสิ่งที่เราพยายามจับต้องในที่นี้ ช่วงเวลาแห่งเวทมนตร์ และนี่คือการสร้างเวทมนตร์ขึ้นทีละโมเลกุล” มาร์ก ฟรายด์เบิร์ก (Mark Friedberg) โปรดักชันดีไซเนอร์กล่าว

 

สร้างสรรค์ทุกฉากอย่างพิถีพิถัน

 

ฉากหลังของเรื่องนี้อยู่ในแอฟริกา ซึ่งในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่โควิด-19 กำลังระบาด ทีมสร้างภาพยนตร์ ทั้ง แบร์รี่ เจนกินส์ และ มาร์ก ฟรายด์เบิร์ก จึงต้องท่องแอฟริกาแบบเสมือนจริง (Virtual Road Trip) โดยมีนักสำรวจผู้เชี่ยวชาญการเดินทางสำรวจภาคพื้นดินเป็นไกด์นำทาง ทำให้เห็นภูมิประเทศและภูมิทัศน์อันน่าทึ่งหลากหลายแบบของแอฟริกา ซึ่งถูกนำมาเป็นแรงบันดาลใจและเข็มทิศในการสร้างสรรค์ฉากและการเดินทางของตัวละคร โดยมีการปรับแต่งให้สะท้อนเรื่องราวได้ยิ่งขึ้น “ผมคิดว่าอยากทำให้ฉากในเรื่องดูเหมือนสถานที่จริงในแอฟริกา แต่บทไม่ได้เขียนมาแบบนั้นโดยตรง จึงต้องปรับแต่งให้เข้ากับบท และอยู่ภายในกรอบของเรื่องราวเพื่อให้สะท้อนการเดินทางของตัวละครได้อย่างน่าเชื่อถือที่สุด” ฟรายด์เบิร์กกล่าว

 

หลังสำรวจและเก็บข้อมูลสถานที่ต่าง ๆ ทีมโปรดักชันดีไซน์ได้นำข้อมูลมาออกแบบและสร้างฉาก โดยเริ่มจากภาพ Concept Art จากนั้นจึงสร้างฉากเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติขึ้นมา ซึ่งด้วยข้อมูลอ้างอิงจากการสำรวจทำให้ทีมงานศิลปินจาก MPC สามารถสร้างพรรณไม้และสัตว์ต่างๆ ในทวีปแอฟริกาขึ้นมาใหม่ด้วยเทคนิค Photogrammetry และการแกะสลักด้วยมือ จนออกมาเป็นทุ่งหญ้า แคนยอน และป่าไม้ ที่งดงามละเอียดละออ จากการออกแบบอย่างพิถีพิถันในทุกส่วนตั้งแต่ก้อนหินไปจนถึงใบหญ้า โดยมีการปรับแต่งและเพิ่มองค์ประกอบ เช่น แม่น้ำ ต้นไม้ และพืชพันธุ์ต่างๆ ด้วยเครื่องมือเฉพาะเพื่อเลียนแบบความซับซ้อนของธรรมชาติให้สมจริงที่สุด ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนสำคัญอย่างการปรับแต่งการเรนเดอร์ ซึ่งสำหรับฉากที่กว้างใหญ่กว่าฉากใน The Lion King ภาคก่อน จำเป็นต้องพัฒนาเครื่องมือใหม่ขึ้นมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

 

จนในที่สุดก็ถ่ายทอดออกมาเป็นโลกของมูฟาซาที่เต็มไปด้วยความงดงามและความหลากหลายของภูมิประเทศในแอฟริกา เป็นฉากอันน่าทึ่งและน่าประหลาดใจ พร้อมทั้งฉากที่ไม่เคยเห็นมาก่อนอย่างทิวทัศน์หิมะ โดยโลกของมูฟาซานี้ครอบคลุมพื้นที่กว่า 107 ตารางไมล์ หรือเทียบเท่าเมือง Salt Lake City ในรัฐ Utah เลยทีเดียว และฉากเหล่านี้ก็เป็นองค์ประกอบสำคัญในการเล่าเรื่องการเดินทางของมูฟาซา ทั้งในเชิงภูมิศาสตร์และเชิงจิตวิญญาณ

 

งานเสียงที่ยอดเยี่ยมไม่แพ้งานภาพ

 

ไม่เพียงงานภาพที่ทีมผู้สร้างทุ่มเทกันอย่างมาก ด้านงานเสียงก็คู่ขนานไปกับงานภาพด้วยเช่นกัน โดย Onnalee Blank ผู้รับหน้าที่เป็น Supervising Sound Editor / Re-ecording Mixer, CAS, MPSE ได้สร้างผลงานด้านเสียงอันยอดเยี่ยม ทำให้เสียงในเรื่องมีความสมจริงที่สุด ด้วยการทุ่มเทเก็บเสียงจริงจากธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการปีนขึ้นไปบนจุดที่สูงกว่า 11,200 ฟุต บนภูเขา Mammoth ในแคลิฟอร์เนีย พร้อมกับไมโครโฟนชนิดพิเศษและอุปกรณ์บันทึกเสียงที่เธอติดไว้กับตัวเองเพื่อเก็บเสียงลมจริงจากธรรมชาติ รวมถึงเสียงหิมะ นอกจากนี้เสียงสัตว์ต่าง ๆ เธอก็คิดหาวิธีในการเก็บเสียงจากสัตว์จริง เช่น การสร้างรถสำรวจขนาดเล็กที่ติดตั้งไมโครโฟนไว้ในกรง เพื่อให้สามารถบันทึกเสียงของสิงโตได้โดยที่พวกมันไม่กินอุปกรณ์ของเธอไปเสียก่อน (แม้ว่าสิงโตจะวนเวียนล้อมรถสำรวจและพยายามตะปบอุปกรณ์ด้วยความสงสัยก็ตาม) หรือการเก็บเสียงหมูป่า Wart-hog ด้วยการติดอุปกรณ์บันทึกเสียงไปกับสร้อยคอที่สวมไว้บนตัวหมูป่าจริงเพื่อนำมาใช้แทนเสียงของพุมบ้า เป็นต้น

 

นอกจากบทสนทนา เพลงร้อง และเพลงประกอบ เสียงอื่น ๆ ที่ปรากฏใน “Disney’s Mufasa: The Lion King มูฟาซา: เดอะ ไลอ้อน คิง” ล้วนแล้วแต่เป็นผลงานของทีมออกแบบเสียงที่สร้างและปรับแต่งทุกเสียงในเรื่อง ตั้งแต่เสียงของฝูงช้างที่วิ่งกระโจน ไปจนถึงกลุ่มลิงบาบูน โดยใส่ใจทุกรายละเอียดผ่านการใช้เทคนิค Foley ที่บางกรณีต้องเริ่มทำตั้งแต่ยังมีเพียงภาพสตอรีบอร์ดหรือร่างภาพ เพื่อกำหนดว่าสัตว์แต่ละชนิดเดินบนดินหรือหญ้า เพื่อให้ประสบการณ์การดูหนังของคนดูสมบูรณ์และราบรื่นที่สุด นอกจากนี้ทีมยังต้องประเมิน สร้าง เพิ่ม หรือลดเสียงบรรยากาศรอบ ๆ ตัวละคร ให้ชั้นเสียงของสิ่งแวดล้อมสมจริง ไม่กลบเสียงบทสนทนาและเพลง โดยคำนึงถึงสัตว์ที่อยู่ในฉากหลังด้วย เพื่อให้ตัวละครหลักไม่ดูแปลกแยก ทุกเสียงจึงต้องฟังดูเป็นธรรมชาติและสอดคล้องกับสถานที่และลำดับเรื่องราว ทำให้ทัศนียภาพทางเสียง หรือ  Soundscape ของ “Disney’s Mufasa: The Lion King มูฟาซา: เดอะ ไลอ้อน คิง” ให้ความรู้สึกสมจริงเหมือนคนดูได้เข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ในเรื่องด้วย

 

เรียกได้ว่าทุกฉาก ทุกเสียง มาจากฉากจริง เสียงจริง ที่ปรับแต่งเพื่อให้กลมกลืนเหมาะสม บอกเล่าการเดินทางของมูฟาซาได้อย่างดีที่สุด ภาพที่เห็นจึงงดงามและยิ่งใหญ่ ผสมผสานกับเสียงจริงจากธรรมชาติ จึงให้ความรู้สึกสมจริงอย่างมากเมื่อเข้าไปชมในโรงภาพยนตร์ ใครยังไม่ได้ดู รีบจองตั๋วและไปผจญกับ “Disney’s Mufasa: The Lion King มูฟาซา: เดอะ ไลอ้อน คิง” ได้แล้ววันนี้ ในโรงภาพยนตร์และระบบ IMAX ทั่วประเทศ

 

โซเชียลมีเดีย:

X: @DisneyStudiosTH

Instagram: @disneystudiosth

Facebook: @WaltDisneyStudiosTH

Youtube: @waltdisneystudiosth

Hashtag: #MufasaTH #มูฟาซา

Comments

entertainment

VDO Update

Merigin

Related Post