
- ปัญหาสัตว์เเมลงมีพิษเข้าบ้านคงเป็นปัญหาที่หลายๆต่างพบเจอกันเมื่อเราค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เนทก็มักจะมีคำแนะนำต่างๆซึ่งบางครั้งเราเองก็ไม่ทราบว่ามันได้ผลจริงหรือไม่ แอดมินเองก็กำลังเผชิญปัญหา"ตะขาบบุกบ้าน" วันนี้ได้ค้นคว้าหาข้อมูลก็พบคำแนะนำต่างๆว่า 5 สิ่งที่ชาวเนทมักแนะนำสำหรับการแก้ปัญหาตะขาบบุกเเละโชคดีเหลือเกินที่มีรายการดีๆอย่าง Animals Speak by Mahidol ที่ได้ทำการทดลองว่า 5 สิ่งที่ชาวเนทชอบเเนะนำนั้นอันไหนได้ผลจริงบ้าง เรามาดูผลกันค่ะว่าอันไหนได้ผลบ้าง
- 1. อบเชย
- ไม่ได้ผล เเม้พิธีกรรายการจะนำอบเชยหลายเเท่งลงไปในกล่องที่ใส่ตะขาบเเต่ตะขาบกลับไต่บนเเท่งอบเชยได้อย่างสบายดังนั้นความเชื่อว่าอบเชยป้องกันได้จึงไม่เป็นความจริงค่ะ
- 2. โซดาไฟ
- ได้ผล ตะขาบเมื่อเจอโซดาไฟจะทำให้ไม่สามารถยกตัวขึ้นได้ มันจะเดินหลีกเลี่ยงเส้นทางที่วางโซดาไฟไว้
- 3.สบู่
- ไม่ได้ผล สบู่ไม่ผลต่อตะขาบเลย มันยังสามารถเดินไปมาบนสบู่ได้ปกติ
- 4.น้ำส้มควันไม้
- ไม่ได้ผล เเม้ตอนเเรกพิธีกรจะใช้น้ำส้มควันไม้หยุดวงเเละตะขาบมีอาการอ่อนเเรงลง เเต่หากน้ำส้มควันไม้แห้งไปหรือจำนวนน้อยมากๆก็ไม่สามารถที่จะป้องกันได้อีก
- 5.น้ำมันขี้โล้(น้ำมันเครื่องเก่า)
- ไม่ได้ผล ตะขาบสามารถเดินผ่านน้ำมันเครื่องเก่าๆได้เลย ดังัน้นน้ำมันขี้โล้จึงไมไ่ด้ผล
ตะขาบเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้น Chilopoda จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โธรพอด เป็นสัตว์ขาข้อที่พบได้ในเขตร้อนชื้น อาศัยอยู่บนบก มีหลายขนาด ส่วนใหญ่ความยาวของลำตัวตั้งแต่ 3-8 เซนติเมตร ลำตัวแบนราบ มีปล้อง 15-100 ปล้อง แต่ละปล้องมีขา 1 คู่ ส่วนหัวแยกจากลำตัวชัดเจน มีหนวด 1 คู่ และเขี้ยวพิษ 1 คู่ ซึ่งดัดแปลงมาจากปล้องแรกของลำตัว เขี้ยวพิษเชื่อมต่อกับต่อมพิษ เมื่อกัดเหยื่อจะปล่อยพิษออกมา ทำให้เหยื่อเจ็บปวดและเป็นอัมพาต เมื่อถูกตะขาบกัดจะพบรอยเขี้ยวสองรอย ลักษณะเป็นจุดเลือดออกตรงบริเวณที่ถูกกัด ตะขาบวางไข่ในที่ชื้นหรือต้นพืช ต้นหญ้า ใช้เวลาในการเจริญเติบโตนานโดยลอกคราบ 10 ครั้ง ตัวเต็มวัยมีอายุ 3-5 ปี ในเวลากลางวันจะซ่อนอยู่ในที่เย็นๆ เช่น ใต้ก้อนหิน ออกหาเหยื่อในเวลากลางคืน กินแมลงเป็นอาหาร เราต้องคอบดูเเลบ้านไม่ให้อับชื้นเเละสามารถใช้โซดาไฟวางโรยบริเวณที่มีตะขาบได้ค่ะ
Comments